วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประวัติส่วนตัว


ชื่อ นายธีรวัฒน์   หัวนา  ชื่อเล่น   ยิม
นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
รหัส 55222334
หมู่เรียน ภาคพิเศษ (เสาร์-อาทิตย์)
sec  03
เบอร์โทรติดต่อ  084-3701779
E-mail    theerawatyim6172@hotmail.co.th
              theerawathuana@gmail.com


พันธุ์กบ






พันธุ์กบ





กบที่พบในประเทศไทยนั้นมีถึง 34 ชนิด และในต่างประเทศอีกหลายชนิด ซึ่งรวมแล้วไม่น้อยกว่า 100 ชนิด กบบางชนิดมีขนาดที่ใหญ่มาก บางชนิดมีขนาดปานกลาง และบางชนิดก็มีขนาดเล็ก แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ สำหรับผู้ที่สนใจควรเสาะ่หาพันธุ์เพี่อนำมาเลี้ยงกันหลาย ๆ ชนิด พันธุ์กบที่จะแน ะนำต่อไปนี้สามารถเลี้ยงได้ในเมืองไทย ซึ่งมีทั้ง กบพันธุ์พื้นเมือง และกบจากต่างประเทศที่มีคุณสมบัติเหมาะกับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศในบ้านเรา ดังต่อไปนี้
1 . กบนา ( Rana tigerina Daudin)
เป็นกบขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ ตัวที่โตเต็มที่ยาวประมาณ 5 นิ้ว ขนาด ประมาณ 4 ตัวต่อกิโลกรัม ผิวมีสีน้ำตาลปนเขียว อาจจะแตกต่างกันบ้างตามแหล่งที่ อยู่อาศัย ลักษณะโดยทั่วๆ ไปสังเกตุได้คือ ขาหน้าสั้นอยู่ระหว่างไหล่กับตา ปุ่มกระดูกเท้าล่างไม่แหลมคม มีสีคล้ำและมีลายพาดสีจาง ๆ ตรงริมฝีปาก ใต้คางอาจมีจุดหรือลายริ้วตรงคอหอย ด้านหลังมีสีเขียวอมน้ำตาล มีจุดสีดำเป็นจำนวนมาก
2. กบนา (Rana rugulosa Wiegmann)
เป็นกบขนาดกลางตัวที่โตเต็มที่ยาวประ่มาณ 5 นิ้ว ขนาดประมาณ 6 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม ผิวสีน้ำตาลปนดำ อาจจะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยตามแหล่งที่อยู่อาศัย ลักษณะโดยทั่ว ๆ ไปที่สังเกตุได้คือ ขาหน้าและขาหลังมีขนาดยาวปานกลาง ส่วนนิ้วมีแผ่นหนัง ระหว่างนิ้วเกือบสุดปลาย ปลายนิ้วไม่มีแผ่นยึดเกาะ ปลายนิ้วเท้ามีปุ่มเล็กน้อย ไม่มีปุ่มที่กระดูก ฝ่าเท้า ด้านหลังมีแถบสีดำขาดเป็นตอน ๆ ประมาณ 10 แถว ขอบในดวงตาแคบกว่าเปลือก ตาบน บริเวณหัวและลำตัวส่วนหลังมีสีน้ำตาล ขามีลายพาดขวาง มีสีน้ำตาลตลอด ใต้ดางมีจุดเด่นสีเทา
3. กบภูเขา หรือเขียดแลว (Rana bythii Boulenaer)
เป็นกับพื้นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวที่โตเต็มที่ขนาดปรมาณ 3 กิโลกรัม ขึ้นไป ชาวบ้านเรียกกันอีกชี่อหนึ่งว่า กบคลอง ตามแหล่งอาศัย ลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป ที่สังเกตุได้คือ ปลายนิ้วโป้งนิ้วขาหน้าแยกออกจากกัน ผิวหนังด้านข้างไม่นูนโป่ง ไม่ม็ถุงลม ไม่มีแผ่นหนังที่นิ้วขาหน้าอันแรก ซึ่งยาวกว่านิ้วอันที่สอง แก้วหูห่างจากตาเป็นระยะทาง มากกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของตา กบเพศผู้จะมีเขี้ยวออกจากขากรรไกรล่างยืนยาว ส่วนเพศเมียจะสั้นกว่า มีตาโต ในบางท้องที่อาจมีเส้นพาดกลางหลัง จากริมฝีปากถึงส่วนก้น บางแหล่งไม่มี ที่ขามีลายพาดสีน้ำตาลเข้มตลอด ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงหรือดำ ใต้คาง ใต้ท้องมีสีขาว-เหลือง ริมฝีปากบนและล่างมีจุดสีดำ พบมากแถบภาคเหนือและภาคใต้
4. กบบูลฟรอค (Rana catesbeiana show)
เป็นกบที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เข้าใจว่าใหญ่ที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา โตเต็มที่มีน้ำหนักมากกว่า 1 กิโลกรัมขึ้นไป ตัวที่โตมีความยาวถึง 8 นิ้ว ลำตัวกว้าง ส่วนหัวสีเขียว ส่วนหลังมีสีน้ำตาลเขียว ส่วนท้องมีสีขาวเหลือง ผิวหนังขรุขระมีปุ่มขนาดเล็กๆ อยู่ที่ส่วนหลัง ไม่มีสันข้างตัวแต่จะมีสันตรงด้านหลังของแก้วหู ที่ขามีจุดสีน้ำตาลประปราย บางท้องที่อาจมีสีคล้ำหรือดำ











พันธุ์กบพันธุ์กบที่เหมาะสม คือ กบนา ที่ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีสีเหลือง มีอัตราการเจริญเติบโตดี
ลักษณะกบพ่อแม่พันธุ์ที่พร้อมผสมพันธุ์• ตัวผู้ มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย มีถุงเสียงใต้คาง สีสันบนตัวจะเหลืองกว่าตัวเมีย
• ตัวเมีย มีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ไม่มีถุงเสียงใต้คาง ตัวเมียที่ไข่แก่ท้องจะโป่งนูนเห็นได้ชัด
• แม่พันธุ์ ควรมีอายุ 8 เดือน ขึ้นไป และไข่จะสมบูรณ์เต็มที่ เมื่ออายุ 1 ปี โดยมีน้ำหนักตัว 330 กรัม ขึ้นไป หรือขนาด 3 ตัวต่อกิโลกรัม ไข่ต้องแก่จัด มีสีดำ ข้างลำตัวทั้งสองด้านเมื่อเอามือลูบจะสาก ท้องค่อนข้างใหญ่
• พ่อพันธุ์ จะมีขนาดเล็กกว่าแม่พันธุ์ ควรมีอายุ 8 เดือน ขึ้นไป โดยมีน้ำหนักตัว 200-250 กรัม หรือ 4-5 ตัวต่อกิโลกรัม จะต้องคึก ดูได้จากเมื่อสอดนิ้วมือเข้าระหว่างขาหน้าทั้งสอง พ่อพันธุ์จะรัดแน่น
การเลี้ยงและการจัดการกบพ่อแม่พันธุ์• บ่อที่ใช้เลี้ยงเป็นบ่อสี่เหลี่ยมขนาด 1×1 , 2×2 , 2×3 เมตร สูง 1.2 เมตร หรือบ่อซีเมนต์กลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 หรือ 1.5 เมตร มีวัสดุปิดด้านบน เช่น กระเบื้องมุงหลังคา เพื่อป้องกันไม่ให้กบตกใจ เครียดหรือโดนแดด ในขณะเดียวกันก็สามารถเปิดให้ได้รับแสงแดดได้บ้าง
• ต้องเลี้ยงแยกเพศ แบ่งเป็นบ่อแม่พันธุ์และบ่อพ่อพันธุ์ เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จึงนำมารวมกันเพื่อให้จับคู่
• ไม่ควรเลี้ยงกบหนาแน่นเกินไป อัตราการปล่อยที่เหมาะสม คือ 40 ตัวต่อตารางเมตร
• มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำสม่ำเสมอ และควบคุมไม่ให้น้ำเสีย
• ให้อาหารวันละ 1 – 2 ครั้ง เมื่อใกล้ฤดูผสมพันธุ์ให้ลดปริมาณอาหารลง มิฉะนั้นกบจะอ้วนมีแต่ไขมัน ไม่มีไข่
• มีการให้วิตามินและแร่ธาตุผสมอาหารเพื่อบำรุงระบบสืบพันธุ์
ภาพ บ่อเพาะพันธุ์ลูกกบ ทั้งปี | ภาพ ลูกกบ กบเล็ก พร้อมขายบ่อที่ใช้ผสมพันธุ์และเลี้ยงกบ• โดยทั่วไปแล้วบ่อเลี้ยงกบจะเป็นบ่อเอนกประสงค์ คือ ใช้ตั้งแต่ผสมพันธุ์ อนุบาลลูกอ๊อด อนุบาลลูกกบ จนถึงเลี้ยงกบขุนหรือกบเนื้อ
• บ่อเลี้ยงกบ มักเป็นบ่อซีเมนต์ มีหลายรูปแบบ เช่น ปูกระเบื้อง ทาสีเหลือง บ่อมีหลายขนาด เช่น 3×4 , 3.2×4 , 4×4 , 4×5 , 4×6 เมตร สูง 1.2 เมตร ขึ้นกับความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ แต่ที่นิยมคือ 3×4 เมตร
• บ่อเลี้ยงจะมีการเทคานและใช้อิฐบล็อค 4 – 6 ก้อนก่อเป็นผนัง พื้นบ่อมีการเทปูนหนาพอสมควรเพื่อป้องกันน้ำรั่วซึม ด้านในของบ่อทั้ง 4 ด้าน จะฉาบผิวสูงประมาณ 30-50 เซนติเมตร
• บ่อที่ใช้ผสมพันธุ์และอนุบาลลูกอ๊อด มักจะสร้างโดยมีเกาะตรงกลาง ซึ่งสูงประมาณ 1 คืบ และมีน้ำล้อมรอบด้านข้างทั้ง 4 ด้าน พื้นบ่อที่ในส่วนที่มีน้ำล้อมรอบจะลาดเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อสะดวกในการถ่ายเทน้ำ มีท่อระบายน้ำในส่วนที่ลาดที่สุด โดยมีท่อพลาสติกสวมตรงรูระบายน้ำหรือมีตะแกรงครอบตรงรูระบายน้ำ มีการฝังท่อจากรูระบายน้ำไปยังด้านข้างของบ่อเพื่อระบายน้ำทิ้ง และนำท่อพลาสติกงอมาสวมท่อที่ยื่นออกมา แล้วใช้ท่อพลาสติกตรงมาต่ออีกครั้งหนึ่ง
• บางพื้นที่บ่อกบที่ใช้ผสมพันธุ์ อนุบาลและเลี้ยงเป็นกบขุน พื้นบ่อจะเรียบและเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง มีการปูกระเบื้อง และมีท่อระบายน้ำอยู่ตรงส่วนที่ลาดที่สุด โดยช่วงลูกอ๊อดหางหดจะลดระดับน้ำลงและหาวัสดุที่ให้ลูกอ๊อดขึ้นไปอยู่ เช่น โฟม แผ่นพลาสติก ไม้ไผ่ ทางมะพร้าว เป็นต้น หรืออาจจะช้อนลูกกบที่ขึ้นแพแล้วไปเลี้ยงในบ่ออื่นที่เตรียมไว้สำหรับอนุบาลลูกกบโดยเฉพาะก็ได้
• บ่อกบควรตั้งอยู่กลางแจ้ง มีแสลนกรองแสงทำเป็นหลังคาและกันแดด รวมทั้งมีตาข่ายกันนกหรือศัตรูที่จะเข้ามาจับกินกบ ป้องกันกบตกใจ
การเพาะพันธุ์• ล้างบ่อให้สะอาดที่สุด แล้วเติมน้ำในบ่อเพาะพันธุ์ ให้ได้ระดับ 5-7 เซนติเมตรหรือท่วมหลังกบ
• ใส่พืชน้ำ หรือหญ้า ลงไป ก่อนใส่ต้องนำมาทำความสะอาดด้วยด่างทับทิมก่อน
• นำกบตัวผู้และตัวเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์ปล่อยลงในบ่อเพาะพันธุ์ช่วงเย็นเพื่อให้กบเลือกคู่กัน โดยบ่อขนาด 3×4 เมตร สูง 1.2 เมตร จะปล่อยพ่อแม่พันธุ์ 4-5 คู่
• ในการผสมพันธุ์กบตัวผู้จะไล่เวียนกบตัวเมีย แล้วใช้ขาหน้าโอบรัดตัวเมีย ทางด้านหลัง เพื่อรีดให้ไข่ออกมา ขณะเดียวกันตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสมทันที
• โดยปกติกบจะผสมพันธุ์ในตอนกลางคืน รุ่งเช้าให้นำพ่อแม่พันธุ์ออกจากบ่อ ปล่อยให้ไข่ฟักออกมาเป็นตัว ซึ่งจะให้เวลา 18-36 ชม. แล้วรอจนไข่แดงหมดค่อยให้อาหารผงลูกอ๊อด หรือไข่ตุ๋น ก็ได้ จนอายุประมาณ 7 – 10 วันเริ่มให้อาหารเม็ดโฟมลอยน้ำให้กินต่อไปจนเป็นลูกกบเล็ก(หางหด)
• หลังจากผสมพันธุ์แล้วจะต้องเพิ่มระดับน้ำวันละ 5-7 เซนติเมตร จนสูง 30 เซนติเมตร เมื่อลูกอ๊อดหางหดจึงค่อยลดระดับน้ำลง
• ช่วงลูกอ๊อดบอายุ 20-30 วัน ต้องหาไม้กระดาน โฟม แผ่นพลาสติกลอยน้ำ ให้ลูกกบขึ้นไปอยู่
• ไข่ที่ฟักออกมาจะเจริญเติบโตเป็นลูกอ๊อด และพัฒนาเป็นลูกกบเล็กใช้เวลาประมาณ 30-36 วัน หรือ ประมาณ 1 เดือนเศษ
• ถ้าลูกอ๊อดตัวใดโตไว ต้องขยันคัดขนาดไปเลี้ยงแยกในบ่ออนุบาล เพื่อป้องกันลูกอ๊อดกัดกินขาลูกกบเล็ก หรือกัดกินกันเอง
แนวคิดและข้อแนะนำในการเพาะพันธุ์• ในการเพาะเลี้ยงลูกอ๊อดช่วง 2 – 7 วัน ต้องหมั่นสังเกตุว่าน้ำจะเน่าเสียหรือไม่ ต้องใส่ใจอย่างมาก หรือมีเวลาอย่างเพียงพอในการอนุบาลลูกอ๊อดทั้งวัน
• ในการเพาะเลี้ยงลูกอ๊อด ห้ามปล่อยให้น้ำเน่าเสียเด็ดขาด เพราะลูกอ๊อดจะตายยกบ่อได้ภายใน 8 ชม. หากน้ำเน่าแล้วจะยากที่จะช่วยให้ลูกอ๊อดมีชีวิตรอดได้อีก
• ในการเพาะเลี้ยงลูกอ๊อดครั้งแรกๆ ผู้เพาะมักจะทำไม่สำเร็จ ลูกอ๊อดอาจจะตายยกคอก ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ให้ค่อยๆหาสาเหตุว่าเกิดจากสิ่งใด และแก้ไขไปทีละอย่างจนหมด เพราะสภาพแวดล้อมในแต่ละจุดที่ใช้เพาะแตกต่างกัน จึงต้องดูให้เหมาะสมกับพื้นที่ของเรา อย่าเชื่อผู้อื่นมาก ให้ทดลองเองดีที่สุดครับ แล้วท่านจะเพาะได้สำเร็จในที่สุด
• อย่าใจร้อนให้ทดลองเพาะครั้งละน้อยๆ เพื่อศึกษาวิธีการอนุบาลจริง ให้เข้าใจและเหมาะสมกับพื้นที่ของท่าน ก่อนเพาะเป็นจำนวนมากๆ
• สำหรับผู้ที่จะเลี้ยงกบเพื่อเป็นอาชีพเสริม(เลี้ยงไม่เกินครั้งละ 5,000 ตัว) ให้เริ่มเลี้ยงช่วงปลายเดือนกันยายน ของทุกปี โดยซื้อลูกพันธุ์กบมาเลี้ยง จะสะดวกและคุ้มค่ากว่าการเลี้ยงพ่อพันธุ์กบ แม่พันธุ์กบ ไว้เพาะเอง เพราะไม่ต้องเสียเวลาดูแลพ่อแม่พันธุ์และไม่ต้องยุ่งยากในช่วงอนุบาลลูกอ๊อด
• ปกติการเพาะพันธุ์จำทำสำเร็จได้ง่ายในช่วงต้นฤดูฝน ถ้าปลายๆหรือต้นฤดูหนาวจะเพาะยากขึ้น จึงควรวางแผนให้ดีก่อนเพาะพันธุ์













ที่มา
http://www.doae.go.th/library/html/detail/frog/breed.htm

การให้อาหารกบ


การให้อาหารกบ



ในที่นี้ผมจะขอแนะนำให้ท่านหาซื้ออาหารเม็ดสำเร็จรูป ที่เป็นอาหารกบโดยตรงมาใช้นะครับ ยี่ห้ออะไรก็แล้วแต่ท่านสะดวกที่จะหามาได้นะครับ หลายๆคนและหลายๆที่ก็แนะนำว่าเป็นปลาต้มสับ ก็ได้เหมือนกัน แต่ปัจจุบันทุกอย่างเร่งรีบ และอาหารแบบตามธรรมชาติก็ลดน้อยลงไปมาก ผมจึงแนะนำตามความคิดผมด้านบนนะครับ เพราะอาหารเม็ด ปัจจุบันก็ราคาเฉลี่ย 480 – 530 บาท / กระสอบ(20 กก.) นะครับ ( ยึดตามราคาที่ฟาร์มของผมจำหน่ายอยู่ครับ )
หลักการให้อาหารกบ คือ1. การให้อาหารและขนาดเม็ดอาหาร ให้ดูคร่าวๆจากอายุกบ ไปเลยครับ ไม่ต้องสนใจหลักการอะไรมากครับ เช่น
- กบเล็กอายุ 15 – 35 วัน ให้กินอาหารเม็ดเล็กสุด หรือที่เรียกว่าเม็ดโฟม ให้กินพออิ่ม อย่าให้มาก เพราะกบจะท้องอืดตายได้
- กบเล็กอายุ 36 – 45 วัน ให้กินอาหารเม็ด เบอร์ 1 ได้ครับ
- กบรุ่นอายุ 46- 59 วัน ให้กินอาหารเม็ด เบอร์ 2 ได้เลยครับ
- กบโตอายุ 60 วัน ขึ้นไป ให้กินอาหารเม็ด เบอร์ 3 ได้เลยครับ และก่อนจับก็ให้กินเบอร์ 4 เพื่อรอคนมาจับได้นะครับ
2. อาหารยิ่งเบอร์เล็ก ยิ่งแพง เพราะว่าในช่วงกบอายุน้อยๆจะต้องการโปรตีนปริมาณสูงกว่ากบโต จึงทำให้อาหารเบอร์เล็กแพงกว่าเบอร์ใหญ่ๆครับ
3. กบเล็ก อายุ 30 – 60 วัน ให้กินอาหารวันละ 3 มื้อ ให้กินพออิ่ม อันนี้ต้องดูเอาว่ากบกินทั่วถึงแล้วหรือไม่ ไม่ต้องไปคำนวณตามสูตรอะไรมากมาย เอาง่ายๆพอครับ
4. กบรุ่นและกบโต อายุ 60 วันขึ้นไปให้กินอาหารวันละ 2 มื้อ ก็พอครับ จะได้ไม่เปลืองมาก อย่าให้อาหารมากเกิน เพื่อป้องกันกบท้องอืด และตาย
5. การให้อาหารควรเคล้ายาให้กบบ้าง ตามอาการที่กบเป็นโรค หรือเพื่อป้องกันโรค ส่วนยาก็ไปที่ร้านเกษตรทั่วไปแล้วเลือกดูเอาครับตามที่พบอาการว่ากบมีอาการเป็นอะไรบ้าง สมัยนี้มียารักษาและป้องกันหลายยี่ห้อครับ แต่แนะนำให้ใช้ยาให้น้อยที่สุด หรือเท่าที่จำเป็นนะครับ ตรงนี้สำคัญมากถ้าต้องการส่งออกกบในอนาคตครับ
6. ตามปกติกบจะกินอาหารเรื่อยๆไม่มีหยุด เรียกว่ากินจนท้องอืดและตายในที่สุด ดังนั้นอย่าคิดว่ากบกินอาหารหมดแสดงว่ากบหิว จริงๆแล้วให้ดูโดยรวมๆว่ากินทั่วถึงแล้วหรือยัง ถ้าทั่วถึงแล้วก็ให้หยุดให้อาหารในมื้อนั้นๆและจำเป็นมาตรฐานไว้ว่าเราควรจะให้มื้อละกี่กิโลกรัมครับ






http://www.youtube.com/watch?v=USZiqYrW-NM

เมนูกบ


ผัดเผ็ดกบนาพริกไทยอ่อน







 

ผัดเผ็ดกบนาพริกไทยอ่อน  เมนูเอาใจคออาหารป่า ผัดเผ็ดกบรสเด็ดแซบบ ยิ่งถ้าได้กบนายิ่งดีเพราะเนื้อจะแน่นและหวานอร่อยกว่ากบเลี้ยง ซึ่งแซบนัวครัวอีสาน จะแนะนำวิธีทำผัดเผ็ดพริกไทยอ่อน แซบบกัน ลุยเลย



ส่วนประกอบและเครื่องปรุง1.กบนา 1-2 ตัว
2.กระชายซอย 2 หัว
3.พริกชี้ฟ้าแดงหั่นเฉียง 3 เม็ด
4.พริกไทยอ่อน 1 พวง
4.ใบโหรพา 1 ต้น
5.ใบมะกรูด  3 ใบ
6.พริกแกงเผ็ด 1 ช้อนโต๊ะ
7.น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
8.น้ำตาล 1 ช้อนชา
9.ใบมะกรูด 3 ใบ
10.ถั่วฝักยาว 2 ฝัก
11.ตะไคร้ 2 ต้น
12.ซีอิ๊วขาว 1/2 ช้อนโต๊ะ
13.แป้งข้าวโพด 2 ช้อนโต๊ะ




วิธีทำ1.ล้างกบ ด้วยเกลือให้หายคาว เสร็จแล้วหั่นเป็นชิ้น ๆ แล้วเอามาพักให้สะเด็ดน้ำ

2.จากนั้นหั่นเครื่องเทศทั้ง พริกชี้ฟ้าแดงหั่นเฉียง  ถั่วฝักยาว ตะไคร้ พริกไทยอ่อน ใบมะกรูด เด็ดโหรพาพักไว้

2.นำแป้งข้าวโพดมาคลุกกับกบ ไม่ต้องเยอะมาก เอาให้กบมีแป้งจับนิดหน่อยพอนะจ๊ะ จากนั้นเอาไปทอด แนะนำใครใช้เทปล่อน ใส่น้ำมันนิดหน่อยได้ แต่ถ้ากะทะธรรมดา ต้องให้กะทะร้อนก่อนนะค่อยใส่น้ำมัน มิฉะนั้น มันจะติดกระทะ ทอดพอเหลือง แล้วเอาลงจ้า

3.จากนั้น เทน้ำมันทอดออกนิดหน่อย เอาพริกแกงลงคั่ว ใส่ตะไคร้หั่น ใบมะกรูดฉีก ถั่วฝักยาว และพริกอ่อน ลงผัด ใส่น้ำเปล่านิดหน่อยกันพริกแกงไหม้ ผัดให้เครื่องเทศหอม

4. ปรุงรส ด้วยน้ำปลา น้ำตาลตัดเค็มนิดหน่อยพอ ชอบหวานก็ใส่เยอะได้ ใส่ชีอิ้วขาวเพื่อให้กลมกล่อม ผัดให้น้ำเริ่มแห้ง และผักเริ่มสุก ใส่โหรพาลงไป

5. ใส่กบที่ทอดแล้ว ลงไปคนให้เครื่องปรุงเข้าเนื้อ ไม่ต้องนานเดี๋ยวไม่กรอบนะ พอสีเริ่มสวย ก็เอาลง เตรียมเสริฟ์กับข้าวร้อน ๆ แซบบจร้า






กบทอดขมิ้น
กบทอดขมิ้น
สูตรง่าย ๆ แต่ทำไมอร่อยถึงเพียงนี้




วัตถุดิบ



1.      กบล้างเกลือให้สะอาดลอกหนัง  3-4 ตัว 
2.      เกลือ 2 ช้อนชา   กระทียม  5 กลีบ  หัวขมิ้นครึ่งนิ้วก้อย  โขลกละเอียดรวมกัน
3.      หันกบแนวยาวหันตรงกกขาเวลาทอดจะน่ารับประทาน  แล้วนำกบมามักกับเครื่องมักที่โขลกมักไว้  15  นาที


วิธีทำ

ตั้งกระทะให้ร้อนก่อน แล้วค่อยใส่น้ำมันเนื้อกบจะได้ไม่ติดกะทะ  ใส่กบ สักพักเร่งไฟแรงทอดให้เหลืองกรอบน่ารับประทาน  จากนั้นตักขึ้น ให้สะเด็ดน้ำมันใส่จาน  โรยกระเทียมเจียวเสิร์ฟได้เลย




ยำกบย่างใบมะกอก



ยำกบย่างใบมะกอก
ความเป็นมา
ใบมะกอกอ่อนๆ มีรสเปรี้ยวอมฝาด นิยมกินกับน้ำพริกหรือปลาร้าสับ คนเมืองกาญจน์เอาใบมะกอกมายำกับเนื้อสัตว์ อร่อยมาก ยิ่งถ้าเป็นแย้ย่างจะเด็ดมาก แต่ผมไม่กินสัตว์ป่าเลยเปลี่ยนเป็นกบย่างแทน


ส่วนผสม
1. กบสาวๆ ย่างกาบมะพร้าวหอมๆ สักสองตัว ถ้าเขาย่างมาไม่แห้งให้เอามาย่างซ้ำให้แห้งๆ หน่อย
2. ใบมะกอกอ่อน เอามาย่างไฟแรงๆ ให้เกรียมๆ บ้าง และบางส่วนก็ให้พอสลบ
3. ตะไคร้ ใบมะกรูด
4. หอมย่าง พริกแห้งย่าง
5. น้ำพริกเผา ควรทำเอง อย่างขายเป็นขวดมักหวานไปหน่อย



วิธีทำ
สับกบแล้วฉีกๆๆๆ ไม่เอากระดูก ไม่เอาเล็บเท้ากบ กินแล้วระคายปาก
ใบมะกอกย่างหั่นฝอยๆๆๆๆ
ตะไคร้ใบมะกรูดซอยๆๆๆๆ
พริกแห้งย่างไฟ หัวหอมย่างไฟ หั่นๆ ฉีกๆ รอไว้
เอาทั้งหมดคลุกเคล้ากัน อย่าลืมใส่น้ำพริกเผา ปรุงรส ให้มีความเผ็ดจากน้ำพริกเผา เค็มน้ำปลา และเปรี้ยวใบมะกอก















ที่มา

การเลี้ยงกบ


กบ

ปัจจุบันถือว่าได้รับความนิยมพอสมควร พูดถึงกบบางคนว่ามันดูไม่น่ารับประทานได้ แต่จริงๆกบนั้นรับประทานได้และอร่อยอีกด้วย เทียบกับเนื้อสัตว์อื่นๆได้เลย เนื่องจากกบนั้นจะอยู่ตามทุ่งนาหรือตาวสวนต่างๆ ทุ่งหญ้า หนอง บึง บ่อ สระ หากไม่ใช่คนชำนาญจริงก้ไม่สามารถหาได้ นอกจาก ซื้อ  ตามตลาดและเดี๋ยวนี้ มีการส่งเสริมอาชีพ ไม่ว่าการเลี้ยงกบ หรือหลายๆอาชีพ ตามเศรษฐกิจพอเพียง การเลี้ยงกบก็เป็นอาชีพหนึ่งที่สามารถทำรายได้ ได้ดีทีเดียว


การเลี้ยงกบ





1   การเลี้ยงกบด้วยวิธีธรรมชาติ

       การเลี้ยงกบโดยวิธีเกษตรธรรมชาติ คือการเลี้ยงในรูปแบบใช้ประโยชน์จากทรัพยากรจากธรรมชาติมาทำบ่อเลี้ยงเพื่อให้มีต้นทุนต่ำ และสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุด ดังนั้นรูปแบบบ่ออาจจะต้องมีการพัฒนานำสิ่งที่ดี หาง่ายในพื้นที่มาใช้ในการทำบ่อ เพื่อที่จะนำไปสู่การพัฒนาทำรูปแบบและวิธีการเพาะเลี้ยงการทำบ่อเลี้ยงเช่น บ่อดิน มีความเหมาะสมในการใช้เพาะเลี้ยงกบ เนื่องจากมีการลงทุนต่ำสามารถใช้วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในครัวเรือน และมีสภาพคล้ายคลึงธรรมชาติ
ขนาดบ่อทำได้ตั้งแต่ 2.5x3.0 เมตร  แต่ไม่ควรใหญ่เกินกว่า 3.0x4.0 เมตร

      พื้นที่ควรเลือกบริเวณที่มีแดดส่องถึง โดยทำการปรับสภาพพื้นที่เป็นดินให้เรียบล้อมรอบบ่อด้วยตาข่ายไนลอนสีฟ้าสูง 1 เมตร ฝังตีนตาข่ายลึกลงไปในดินประมาณ 20 เซนติเมตร เพื่อกันกบมุดหนีหรือศัตรูภายนอกมุดเข้ามาทำอันตรายกบ บริเวณที่เป็นแอ่งน้ำอาจขุดเป็นบ่อน้ำเล็ก ๆ ถ้าดินสามารถเก็บน้ำได้ ในกรณีที่เป็นสภาพพื้นที่ไม่เก็บน้ำ ให้ใช้ภาชนะ เช่น กะละมังขนาดกลาง หรือถังซีเมนต์กลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 90 เซนติเมตร ด้านบนปากบ่อคลุมด้วยตาข่ายไนลอนสีฟ้าหรือสแลนให้มิดชิดเพื่อป้องกันศัตรูธรรมชาติ เช่น จิ้งเหลน นก แมว งู และ คน



2   การเลี้ยงกบในบ่อปูนซีเมนต์

• เป็นรูปแบบที่นิยมเลี้ยงกันมากที่สุด โดยบ่อที่นิยมจะมาขนาด 3 x 4 เมตร หรือใหญ่กว่า
• สะดวกในการเปลี่ยนถ่ายน้ำ ทำความสะอาดบ่อ ควบคุมโรครวมถึงการจับแบบทยอยจับได้
• บ่อส่วนใหญ่เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นที่ที่เป็นพื้นบกสำหรับกบอาศัยอย่างน้อย 70% ของบ่อ ที่เหลือเป็นพื้นน้ำ

ลักษณะบ่อปูนซีเมนต์เลี้ยงกบ

• โดยทั่วไปแล้วบ่อเลี้ยงกบจะเป็นบ่อเอนกประสงค์ คือ ใช้ตั้งแต่ผสมพันธุ์ อนุบาลลูกอ๊อด อนุบาลลูกกบ จนถึงเลี้ยงกบขุนหรือกบเนื้อ
• บ่อเลี้ยงกบ มักเป็นบ่อซีเมนต์ มีหลายรูปแบบ เช่น ปูกระเบื้อง ทาสีเหลือง มีหลายขนาด เช่น 3×4 , 3.2×4 , 4×4 , 4×5 , 4×6 เมตร สูง 1.2 เมตร ขึ้นกับความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่
• บ่อเลี้ยงจะมีการเทคานและใช้อิฐบล็อค 4 – 6 ก้อนก่อเป็นผนัง พื้นบ่อมีการเทปูนหนาพอสมควรเพื่อป้องกันน้ำรั่วซึม ด้านในของบ่อทั้ง 4 ด้าน จะฉาบผิวสูงประมาณ 30- 50 เซนติเมตร
• บ่อกบควรตั้งอยู่กลางแจ้ง มีแสลนกรองแสงทำเป็นหลังคาและกันแดด รวมทั้งมีตาข่ายกันนกหรือศัตรูที่จะเข้ามาจับกินกบ
• มีการวางระบบน้ำ โดยเดินท่อพีวีซีไปยังทุกบ่อ เพื่อเติมน้ำในขณะที่เปลี่ยนน้ำออกจากบ่อ

น้ำสำหรับใช้เลี้ยงกบ
• ควรตรวจสอบคุณภาพน้ำ เช่น ความเป็นกรดด่างของน้ำ (พีเอชประมาณ 7 จะดี) ความกระด้าง ค่าอัลคาไลนิตี้ ปริมาณแอมโมเนีย แร่ธาตุในน้ำ ฯลฯ ว่าเหมาะสมหรือไม่
• หากน้ำที่ใช้เป็นกรด จะต้องใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพน้ำและตรวจวัดความเป็นกรดด่างของน้ำอีกครั้งหนึ่ง และมีการพักน้ำดังกล่าวไว้ก่อนนำมาเลี้ยงกบ
• น้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะซึ่งคุณภาพของน้ำมักจะไม่สม่ำเสมอหรือปนเปื้อนสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร ดังนั้นควรพิจารณาในการนำมาใช้ ถ้าจะนำมาใช้ควรมีบ่อพักเก็บกักน้ำไว้ก่อน
• หากน้ำที่ใช้เป็นน้ำบาดาลควรผ่านการกรองและพักน้ำไว้ก่อนนำมาใช้ แต่บางที่มีคุณภาพดีก็นำมาใช้เลี้ยงกบรุ่นๆได้เลยเช่นกัน





3   การเลี้ยงกบในบ่อดิน

       การเลี้ยงกบในบ่อดิน ใช้พื้นที่ประมาณ 100 -200 ตารางเมตร ภายในคอกเป็นบ่อน้ำลึกประมาณ 1 เมตร บางแห่งอาจจะทำเกาะกลางบ่อเพื่อเป็นที่พักของกบและที่ให้อาหาร แต่บางแห่งก็ใช้ไม้กระดานทำเป็นพื้นลาดลงจากชานบ่อก็ได้ ส่วนพื้นที่รอบๆ ขอบบ่อภายในที่ห่างจากรั้วคอกอวนไนลอนกว้าง 1 เมตร ปล่อยให้หญ้าขึ้น หรือบางรายอาจปลูกตะไคร้เพื่อให้กบใช้เป็นที่หลบอาศัยภายในบ่อที่เป็นพื้นจะมีพวกผักตบชวา หรือพืชน้ำอื่น ๆ ให้กบเป็นที่หลบซ่อนภัยและอาศัยภายในบ่อที่เป็นพื้นน้ำจะมีพวกผักตบชวา หรือพืชน้ำอื่นๆ ให้กบเป็นที่หลบซ่อนภัยและอาศัยความร่มเย็นเช่นกัน คอกที่ล้อมรอบด้วนอวนไนลอนนี้ ด้านล่างจะใช้ถุงยางมะตอยผ่าซึก หรือแผ่นสังกะสีฝังลึกลงดินประมาณ 1 ศอก เพื่อป้องกันศัตรูบางชนิด เช่น หนู ขุดรูลอดเข้าไปทำอันตรายกับกบที่อยู่ในบ่อหรือในคอก ส่วนด้านบนของบ่อมุมใดมุมหนึ่ง จะมุงด้วยทางมะพร้าวเพื่อเป็นร่มเงา และยังใช้เป็นที่ให้อาหารกบอีกด้วย นอกจากนั้นบางแห่งยังใช้เสื่อรำแพนเก่า ๆ ที่ใช้ทำเป็นฝาบ้าน นำมาวางซ้อนกัน โดยมีลำไม้ไผ่สอดกลางเพื่อให้เกิดช่องว่างให้กับเข้าไปหลบอาศัย และด้านบนนั้นก็เป็นที่รองรับอาหารที่โยนลงไปให้กบกินได้เช่นกัน

4   การเลี้ยงกบในกระชัง

• เป็นรูปแบบที่นิยมเลี้ยงกันมากเช่นกัน เพราะมีต้นทุนน้อยกว่าเลี้ยงในบ่อปูนพอสมควร• สะดวกในการเปลี่ยนถ่ายน้ำที่สุด แต่ยากต่อการควบคุมความสะอาดบ่อและยากต่อการควบคุมโรคกว่าบ่อปูน โดยจะขุดบ่อดินขาดประมาณ 35 x 20 เมตรขึ้นไป ลึก 80 – 100 เซ็นติเมตร ไว้หลายๆบ่อ ส่วนใหญ่จะเหมาะกับผู้ที่มีพื้นที่เป็นท่งนามาก่อน• นำกระชังเลี้ยงกบสำเร็จรูป(ใช้เครื่องจักรเย็บกระชัง จะทนทานกว่าใช้มือเย็บเอง) โดยกระชังที่นิยมที่สุดคือ ขนาด 3 x 4 เมตร ซึ่งจะใส่กบได้ประมาณ 1,200 – 2,500 ตัว/กระชัง เลยทีเดียว โดยมักจะใส่จนเต็มพอดีกับพื้นที่ และมีทางเดินตรงกลางเพื่อสะดวกต่อการให้อาหารและจับกบทยอยขายได้• สูบน้ำเข้าบ่อประมาณ 50 เซ็นติเมตร แล้วนำกระชังขึงด้วยไม้ใผ่ และนำแผ่นยางลอยน้ำ รองใต้กระชัง เพื่อให้ลอยเหนือน้ำ เป็นพื้นที่แฉะสำหรับกบอาศัยอยู่• ด้านบนปิดด้วยตาข่าย กันศัตรูกบมากิน และมีสแลนพรางแสงและกันฝน กันกบตกใจ• ปกติถ้าน้ำดีๆจะถ่ายน้ำทุกๆ 7 วัน ก็ได้ โดยสังเกตจากกลิ่นของน้ำเป็นสำคัญ จะต้องไม่เหม็นมากนัก



5   การเลี้ยงกบคอนโด

การลงทุนประกอบธุรกิจเลี้ยงกบ ก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่เกษตรกรหลายพื้นที่ให้ความสนใจและนิยมหันมาเลี้ยงกบกันมากขึ้น นอกจากเกษตรกรจะลงทุนสร้างบ่อลอยหรือบ่อซีเมนต์ เลี้ยงกบแล้ว เกษตรกรบางรายยังใช้ภูมิปัญญาพัฒนา วิธีเลี้ยงกบ เป็นการลดต้นทุน ด้วยการเลี้ยงกบในขวดน้ำ และเลี้ยงกบคอนโด เพียงแต่จัดหายางรถสิบล้อเก่า ๆ มาวางซ้อนเป็นชั้น ๆ ใส่น้ำนำลูกกบไปปล่อยเลี้ยง ใช้เวลาเลี้ยง ให้อาหารประมาณ 2 เดือน กบก็จะโตขายได้ราคาดีผู้ที่สนใจจะเลี้ยงกบไว้ข้างบ้านนั้น แนะนำให้เลี้ยงกบคอนโด นอกจากจะไม่สิ้นเปลืองน้ำ ใช้พื้นที่ไม่มากแล้ว กบที่เลี้ยงในคอนโดจะโตเร็วกว่ากบที่เลี้ยงในบ่อลอยที่ต้องใช้เวลานานถึง 3 เดือน แต่กบคอนโดใช้เวลา 2 เดือนก็จะโตเต็มที่ขายได้ 3 – 4 ตัวต่อ 1 กก. และสร้างคอนโด 1 ชุด สามารถเลี้ยงกบได้ 100 ตัว สำหรับอาหารที่นำมาใช้เลี้ยงกบ ตามปกติก็มีอาหารกบขายอยู่ตามท้องตลาด แต่เพื่อประหยัดต้นทุน ก็ทดลองนำอาหารปลาดุกมาเลี้ยงกบได้ หรือผสมกล้วยน้ำว้าในอาหารให้กบกิน กบก็จะโตได้ตามปกติและยังให้น้ำหนักดีอีกด้วย





ที่มา

http://www.interfrogfarm.com/index.php?mo=12&catid=73367
http://xn--12car1fsbfo6h3a2ire.com
http://www.interfrogfarm.com/index.php?mo=3&art=245089




วงจรชีวิตกบ
ทำความรู้จักกับวงจรชีวิตกบกันเถอะ



วงจรชีวิตของกบแบ่งออกเป็น 4 ช่วงชีวิตคือ

1.ช่วงของไข่กบ
2.ช่วงของลูกอ๊อด
3.ช่วงของลูกกบเล็ก
4.ช่วงของกบสมบูรณ์วัย






เมื่อถึงช่วงฤดูผสมพันธุ์ในช่วงหน้าฝน กบตัวผู้และตัวเมียที่มีความพร้อมในการผสมพันธุ์จะจับคู่กันในช่วงตอนเย็นๆจนถึงหัวค่ำ







พอถึงตอนรุ่งเช้ากบที่จับคู่จะไข่ออกมา หนึ่งคู่จะไข่ประมาณ 2,000-3,000 ฟองต่อตัว ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของพ่อและแม่พันธุ์





หลังจากไข่มีอายุได้ 1 วันไข่จะฟักตัวกลายเป็นลูกอ๊อด







จากนั้นจะเริ่มมีพัฒนาการทางร่างการจะเห็นลายบนตัวมากขึ้นในช่วง 14-21 วัน






จนอายุประมาณ 25 วันจะเริ่ม มีขาหลังและขาหน้าตามลำดับ









เมื่อขาทั้ง 4 ออกครบและแข็งแรงพอ พร้อมกับสภาพอาการที่เหมาะสมลูกอ๊อดจะขึ้นบกและหางเริ่มหด






จนเริ่มเป็นลูกกบที่สมบูรณ์







เมื่อกบสมบูรณ์เต็มวัยจุดบ่งบอกเพศก็จะชัดชึ้นโดยแบ่งแยกดังนี้
1. ตัวผู้




2.ตัวเมีย





อุปนิสัยของกบ


กบเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ที่ต้องให้ความใส่ใจในการเลี้ยงดูพอสมควร โดยนิสัยหลักๆที่พอจะสรุปได้ คือ
1.กบชอบอยู่ในที่ชื้นแฉะมีน้ำขัง มากกว่าอยู่ในน้ำตลอดเวลา แต่ไม่ชอบที่แห้งๆ
2. กบชอบอากาศที่อบอุ่น มากกว่าอากาศหนาวเย็น
3. กบชอบอาศัยอยู่ในที่สะอาด และไม่มีศัตรู เช่น นก หรือ งู
4. กบจะตกใจง่าย ขี้หวาดกลัว และกระโดดหนีอย่างรุนแรง ถ้าตกใจมากๆ
5. กบไม่ชอบอยู่ในที่ ที่มีเสียงดังมาก หรือมีควันไฟ
6. กบมักจะเปลี่ยนสีผิวหนังไปตามสีของสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย
7. กบจะกินอาหารน้อยลงหรือจำศีล เมื่ออาการเย็น ทำให้เลี้ยงโตช้าช่วงหน้าหนาว
8. ถ้าน้ำที่ใช้เลี้ยงไม่ดีพอ จะสังเกตเห็นเมือกเหนียวที่กบจะปล่อยออกมาเพื่อเครือบผิวหนังป้องกันเชื้อโรค
     และน้ำที่มากัดผิวหนัง เป็นผลให้น้ำเน่าเหม็นคาวอย่างรวดเร็ว





    ที่มา