วันอาทิตย์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

พันธุ์กบ






พันธุ์กบ





กบที่พบในประเทศไทยนั้นมีถึง 34 ชนิด และในต่างประเทศอีกหลายชนิด ซึ่งรวมแล้วไม่น้อยกว่า 100 ชนิด กบบางชนิดมีขนาดที่ใหญ่มาก บางชนิดมีขนาดปานกลาง และบางชนิดก็มีขนาดเล็ก แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ สำหรับผู้ที่สนใจควรเสาะ่หาพันธุ์เพี่อนำมาเลี้ยงกันหลาย ๆ ชนิด พันธุ์กบที่จะแน ะนำต่อไปนี้สามารถเลี้ยงได้ในเมืองไทย ซึ่งมีทั้ง กบพันธุ์พื้นเมือง และกบจากต่างประเทศที่มีคุณสมบัติเหมาะกับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศในบ้านเรา ดังต่อไปนี้
1 . กบนา ( Rana tigerina Daudin)
เป็นกบขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ ตัวที่โตเต็มที่ยาวประมาณ 5 นิ้ว ขนาด ประมาณ 4 ตัวต่อกิโลกรัม ผิวมีสีน้ำตาลปนเขียว อาจจะแตกต่างกันบ้างตามแหล่งที่ อยู่อาศัย ลักษณะโดยทั่วๆ ไปสังเกตุได้คือ ขาหน้าสั้นอยู่ระหว่างไหล่กับตา ปุ่มกระดูกเท้าล่างไม่แหลมคม มีสีคล้ำและมีลายพาดสีจาง ๆ ตรงริมฝีปาก ใต้คางอาจมีจุดหรือลายริ้วตรงคอหอย ด้านหลังมีสีเขียวอมน้ำตาล มีจุดสีดำเป็นจำนวนมาก
2. กบนา (Rana rugulosa Wiegmann)
เป็นกบขนาดกลางตัวที่โตเต็มที่ยาวประ่มาณ 5 นิ้ว ขนาดประมาณ 6 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม ผิวสีน้ำตาลปนดำ อาจจะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อยตามแหล่งที่อยู่อาศัย ลักษณะโดยทั่ว ๆ ไปที่สังเกตุได้คือ ขาหน้าและขาหลังมีขนาดยาวปานกลาง ส่วนนิ้วมีแผ่นหนัง ระหว่างนิ้วเกือบสุดปลาย ปลายนิ้วไม่มีแผ่นยึดเกาะ ปลายนิ้วเท้ามีปุ่มเล็กน้อย ไม่มีปุ่มที่กระดูก ฝ่าเท้า ด้านหลังมีแถบสีดำขาดเป็นตอน ๆ ประมาณ 10 แถว ขอบในดวงตาแคบกว่าเปลือก ตาบน บริเวณหัวและลำตัวส่วนหลังมีสีน้ำตาล ขามีลายพาดขวาง มีสีน้ำตาลตลอด ใต้ดางมีจุดเด่นสีเทา
3. กบภูเขา หรือเขียดแลว (Rana bythii Boulenaer)
เป็นกับพื้นเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวที่โตเต็มที่ขนาดปรมาณ 3 กิโลกรัม ขึ้นไป ชาวบ้านเรียกกันอีกชี่อหนึ่งว่า กบคลอง ตามแหล่งอาศัย ลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป ที่สังเกตุได้คือ ปลายนิ้วโป้งนิ้วขาหน้าแยกออกจากกัน ผิวหนังด้านข้างไม่นูนโป่ง ไม่ม็ถุงลม ไม่มีแผ่นหนังที่นิ้วขาหน้าอันแรก ซึ่งยาวกว่านิ้วอันที่สอง แก้วหูห่างจากตาเป็นระยะทาง มากกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของตา กบเพศผู้จะมีเขี้ยวออกจากขากรรไกรล่างยืนยาว ส่วนเพศเมียจะสั้นกว่า มีตาโต ในบางท้องที่อาจมีเส้นพาดกลางหลัง จากริมฝีปากถึงส่วนก้น บางแหล่งไม่มี ที่ขามีลายพาดสีน้ำตาลเข้มตลอด ลำตัวมีสีน้ำตาลแดงหรือดำ ใต้คาง ใต้ท้องมีสีขาว-เหลือง ริมฝีปากบนและล่างมีจุดสีดำ พบมากแถบภาคเหนือและภาคใต้
4. กบบูลฟรอค (Rana catesbeiana show)
เป็นกบที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เข้าใจว่าใหญ่ที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา โตเต็มที่มีน้ำหนักมากกว่า 1 กิโลกรัมขึ้นไป ตัวที่โตมีความยาวถึง 8 นิ้ว ลำตัวกว้าง ส่วนหัวสีเขียว ส่วนหลังมีสีน้ำตาลเขียว ส่วนท้องมีสีขาวเหลือง ผิวหนังขรุขระมีปุ่มขนาดเล็กๆ อยู่ที่ส่วนหลัง ไม่มีสันข้างตัวแต่จะมีสันตรงด้านหลังของแก้วหู ที่ขามีจุดสีน้ำตาลประปราย บางท้องที่อาจมีสีคล้ำหรือดำ











พันธุ์กบพันธุ์กบที่เหมาะสม คือ กบนา ที่ได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีสีเหลือง มีอัตราการเจริญเติบโตดี
ลักษณะกบพ่อแม่พันธุ์ที่พร้อมผสมพันธุ์• ตัวผู้ มีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย มีถุงเสียงใต้คาง สีสันบนตัวจะเหลืองกว่าตัวเมีย
• ตัวเมีย มีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ไม่มีถุงเสียงใต้คาง ตัวเมียที่ไข่แก่ท้องจะโป่งนูนเห็นได้ชัด
• แม่พันธุ์ ควรมีอายุ 8 เดือน ขึ้นไป และไข่จะสมบูรณ์เต็มที่ เมื่ออายุ 1 ปี โดยมีน้ำหนักตัว 330 กรัม ขึ้นไป หรือขนาด 3 ตัวต่อกิโลกรัม ไข่ต้องแก่จัด มีสีดำ ข้างลำตัวทั้งสองด้านเมื่อเอามือลูบจะสาก ท้องค่อนข้างใหญ่
• พ่อพันธุ์ จะมีขนาดเล็กกว่าแม่พันธุ์ ควรมีอายุ 8 เดือน ขึ้นไป โดยมีน้ำหนักตัว 200-250 กรัม หรือ 4-5 ตัวต่อกิโลกรัม จะต้องคึก ดูได้จากเมื่อสอดนิ้วมือเข้าระหว่างขาหน้าทั้งสอง พ่อพันธุ์จะรัดแน่น
การเลี้ยงและการจัดการกบพ่อแม่พันธุ์• บ่อที่ใช้เลี้ยงเป็นบ่อสี่เหลี่ยมขนาด 1×1 , 2×2 , 2×3 เมตร สูง 1.2 เมตร หรือบ่อซีเมนต์กลมเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 หรือ 1.5 เมตร มีวัสดุปิดด้านบน เช่น กระเบื้องมุงหลังคา เพื่อป้องกันไม่ให้กบตกใจ เครียดหรือโดนแดด ในขณะเดียวกันก็สามารถเปิดให้ได้รับแสงแดดได้บ้าง
• ต้องเลี้ยงแยกเพศ แบ่งเป็นบ่อแม่พันธุ์และบ่อพ่อพันธุ์ เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์จึงนำมารวมกันเพื่อให้จับคู่
• ไม่ควรเลี้ยงกบหนาแน่นเกินไป อัตราการปล่อยที่เหมาะสม คือ 40 ตัวต่อตารางเมตร
• มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำสม่ำเสมอ และควบคุมไม่ให้น้ำเสีย
• ให้อาหารวันละ 1 – 2 ครั้ง เมื่อใกล้ฤดูผสมพันธุ์ให้ลดปริมาณอาหารลง มิฉะนั้นกบจะอ้วนมีแต่ไขมัน ไม่มีไข่
• มีการให้วิตามินและแร่ธาตุผสมอาหารเพื่อบำรุงระบบสืบพันธุ์
ภาพ บ่อเพาะพันธุ์ลูกกบ ทั้งปี | ภาพ ลูกกบ กบเล็ก พร้อมขายบ่อที่ใช้ผสมพันธุ์และเลี้ยงกบ• โดยทั่วไปแล้วบ่อเลี้ยงกบจะเป็นบ่อเอนกประสงค์ คือ ใช้ตั้งแต่ผสมพันธุ์ อนุบาลลูกอ๊อด อนุบาลลูกกบ จนถึงเลี้ยงกบขุนหรือกบเนื้อ
• บ่อเลี้ยงกบ มักเป็นบ่อซีเมนต์ มีหลายรูปแบบ เช่น ปูกระเบื้อง ทาสีเหลือง บ่อมีหลายขนาด เช่น 3×4 , 3.2×4 , 4×4 , 4×5 , 4×6 เมตร สูง 1.2 เมตร ขึ้นกับความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ แต่ที่นิยมคือ 3×4 เมตร
• บ่อเลี้ยงจะมีการเทคานและใช้อิฐบล็อค 4 – 6 ก้อนก่อเป็นผนัง พื้นบ่อมีการเทปูนหนาพอสมควรเพื่อป้องกันน้ำรั่วซึม ด้านในของบ่อทั้ง 4 ด้าน จะฉาบผิวสูงประมาณ 30-50 เซนติเมตร
• บ่อที่ใช้ผสมพันธุ์และอนุบาลลูกอ๊อด มักจะสร้างโดยมีเกาะตรงกลาง ซึ่งสูงประมาณ 1 คืบ และมีน้ำล้อมรอบด้านข้างทั้ง 4 ด้าน พื้นบ่อที่ในส่วนที่มีน้ำล้อมรอบจะลาดเอียงไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อสะดวกในการถ่ายเทน้ำ มีท่อระบายน้ำในส่วนที่ลาดที่สุด โดยมีท่อพลาสติกสวมตรงรูระบายน้ำหรือมีตะแกรงครอบตรงรูระบายน้ำ มีการฝังท่อจากรูระบายน้ำไปยังด้านข้างของบ่อเพื่อระบายน้ำทิ้ง และนำท่อพลาสติกงอมาสวมท่อที่ยื่นออกมา แล้วใช้ท่อพลาสติกตรงมาต่ออีกครั้งหนึ่ง
• บางพื้นที่บ่อกบที่ใช้ผสมพันธุ์ อนุบาลและเลี้ยงเป็นกบขุน พื้นบ่อจะเรียบและเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง มีการปูกระเบื้อง และมีท่อระบายน้ำอยู่ตรงส่วนที่ลาดที่สุด โดยช่วงลูกอ๊อดหางหดจะลดระดับน้ำลงและหาวัสดุที่ให้ลูกอ๊อดขึ้นไปอยู่ เช่น โฟม แผ่นพลาสติก ไม้ไผ่ ทางมะพร้าว เป็นต้น หรืออาจจะช้อนลูกกบที่ขึ้นแพแล้วไปเลี้ยงในบ่ออื่นที่เตรียมไว้สำหรับอนุบาลลูกกบโดยเฉพาะก็ได้
• บ่อกบควรตั้งอยู่กลางแจ้ง มีแสลนกรองแสงทำเป็นหลังคาและกันแดด รวมทั้งมีตาข่ายกันนกหรือศัตรูที่จะเข้ามาจับกินกบ ป้องกันกบตกใจ
การเพาะพันธุ์• ล้างบ่อให้สะอาดที่สุด แล้วเติมน้ำในบ่อเพาะพันธุ์ ให้ได้ระดับ 5-7 เซนติเมตรหรือท่วมหลังกบ
• ใส่พืชน้ำ หรือหญ้า ลงไป ก่อนใส่ต้องนำมาทำความสะอาดด้วยด่างทับทิมก่อน
• นำกบตัวผู้และตัวเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์ปล่อยลงในบ่อเพาะพันธุ์ช่วงเย็นเพื่อให้กบเลือกคู่กัน โดยบ่อขนาด 3×4 เมตร สูง 1.2 เมตร จะปล่อยพ่อแม่พันธุ์ 4-5 คู่
• ในการผสมพันธุ์กบตัวผู้จะไล่เวียนกบตัวเมีย แล้วใช้ขาหน้าโอบรัดตัวเมีย ทางด้านหลัง เพื่อรีดให้ไข่ออกมา ขณะเดียวกันตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อออกมาผสมทันที
• โดยปกติกบจะผสมพันธุ์ในตอนกลางคืน รุ่งเช้าให้นำพ่อแม่พันธุ์ออกจากบ่อ ปล่อยให้ไข่ฟักออกมาเป็นตัว ซึ่งจะให้เวลา 18-36 ชม. แล้วรอจนไข่แดงหมดค่อยให้อาหารผงลูกอ๊อด หรือไข่ตุ๋น ก็ได้ จนอายุประมาณ 7 – 10 วันเริ่มให้อาหารเม็ดโฟมลอยน้ำให้กินต่อไปจนเป็นลูกกบเล็ก(หางหด)
• หลังจากผสมพันธุ์แล้วจะต้องเพิ่มระดับน้ำวันละ 5-7 เซนติเมตร จนสูง 30 เซนติเมตร เมื่อลูกอ๊อดหางหดจึงค่อยลดระดับน้ำลง
• ช่วงลูกอ๊อดบอายุ 20-30 วัน ต้องหาไม้กระดาน โฟม แผ่นพลาสติกลอยน้ำ ให้ลูกกบขึ้นไปอยู่
• ไข่ที่ฟักออกมาจะเจริญเติบโตเป็นลูกอ๊อด และพัฒนาเป็นลูกกบเล็กใช้เวลาประมาณ 30-36 วัน หรือ ประมาณ 1 เดือนเศษ
• ถ้าลูกอ๊อดตัวใดโตไว ต้องขยันคัดขนาดไปเลี้ยงแยกในบ่ออนุบาล เพื่อป้องกันลูกอ๊อดกัดกินขาลูกกบเล็ก หรือกัดกินกันเอง
แนวคิดและข้อแนะนำในการเพาะพันธุ์• ในการเพาะเลี้ยงลูกอ๊อดช่วง 2 – 7 วัน ต้องหมั่นสังเกตุว่าน้ำจะเน่าเสียหรือไม่ ต้องใส่ใจอย่างมาก หรือมีเวลาอย่างเพียงพอในการอนุบาลลูกอ๊อดทั้งวัน
• ในการเพาะเลี้ยงลูกอ๊อด ห้ามปล่อยให้น้ำเน่าเสียเด็ดขาด เพราะลูกอ๊อดจะตายยกบ่อได้ภายใน 8 ชม. หากน้ำเน่าแล้วจะยากที่จะช่วยให้ลูกอ๊อดมีชีวิตรอดได้อีก
• ในการเพาะเลี้ยงลูกอ๊อดครั้งแรกๆ ผู้เพาะมักจะทำไม่สำเร็จ ลูกอ๊อดอาจจะตายยกคอก ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ให้ค่อยๆหาสาเหตุว่าเกิดจากสิ่งใด และแก้ไขไปทีละอย่างจนหมด เพราะสภาพแวดล้อมในแต่ละจุดที่ใช้เพาะแตกต่างกัน จึงต้องดูให้เหมาะสมกับพื้นที่ของเรา อย่าเชื่อผู้อื่นมาก ให้ทดลองเองดีที่สุดครับ แล้วท่านจะเพาะได้สำเร็จในที่สุด
• อย่าใจร้อนให้ทดลองเพาะครั้งละน้อยๆ เพื่อศึกษาวิธีการอนุบาลจริง ให้เข้าใจและเหมาะสมกับพื้นที่ของท่าน ก่อนเพาะเป็นจำนวนมากๆ
• สำหรับผู้ที่จะเลี้ยงกบเพื่อเป็นอาชีพเสริม(เลี้ยงไม่เกินครั้งละ 5,000 ตัว) ให้เริ่มเลี้ยงช่วงปลายเดือนกันยายน ของทุกปี โดยซื้อลูกพันธุ์กบมาเลี้ยง จะสะดวกและคุ้มค่ากว่าการเลี้ยงพ่อพันธุ์กบ แม่พันธุ์กบ ไว้เพาะเอง เพราะไม่ต้องเสียเวลาดูแลพ่อแม่พันธุ์และไม่ต้องยุ่งยากในช่วงอนุบาลลูกอ๊อด
• ปกติการเพาะพันธุ์จำทำสำเร็จได้ง่ายในช่วงต้นฤดูฝน ถ้าปลายๆหรือต้นฤดูหนาวจะเพาะยากขึ้น จึงควรวางแผนให้ดีก่อนเพาะพันธุ์













ที่มา
http://www.doae.go.th/library/html/detail/frog/breed.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น